
เชื่อว่า หลายคนที่ไม่เคยขึ้นเครื่องบิน หรือเพิ่งจะไปสนามบินครั้งแรกคงจะรู้สึกตื่นเต้นปนสับสน ไม่รู้ว่าจะต้องทำตัวอย่างไร บางคนอาจจะไม่แน่ใจว่า Boarding Pass คืออะไร? E-Boarding Pass (บอร์ดดิ้งพาสรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์) สามารถใช้แทนบอร์ดดิ้งพาสแบบกระดาษได้หรือไม่? Departure Time คืออะไร? เช็คอินแล้วต้องทำอย่างไร? ชับบ์ รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบอร์ดดิ้งพาสและคำศัพท์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการขึ้นเครื่องบินให้คุณเข้าใจง่าย ๆ แล้วอย่าลืมซื้อประกันภัยการเดินทาง (Chubb Travel Insurance) เพื่อชดเชยค่าเสียหายจากสายการบินดีเลย์ กระเป๋าเดินทางชำรุด หรือสูญหายจะได้อุ่นใจในทุกทริปไงล่ะ!
บอร์ดดิ้งพาส (Boarding Pass) คืออะไร?
บอร์ดดิ้งพาส (Boarding Pass) หรือ “บัตรขึ้นเครื่อง” เป็นเอกสารที่สายการบินออกให้กับผู้โดยสารหลังจากผ่านขั้นตอนการเช็คอิน และอนุญาตให้ผู้โดยสารสามารถเข้าไปยังพื้นที่ภายในของสนามบิน เพื่อขึ้นเครื่องบินสำหรับเที่ยวบินที่ระบุไว้บนบัตรได้ เมื่อคุณได้รับบอร์ดดิ้งพาสจากสายการบินแล้วควรถือไว้คู่กับหนังสือเดินทาง (Passport) เพราะเป็นเอกสารที่มีข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับการบิน โดยข้อมูลต่าง ๆ ใน Boarding Pass จะประกอบด้วยข้อมูลสำคัญของคุณ นั่นคือ
**Note: Boarding Time คือเวลาที่สายการบินเรียกผู้โดยสารขึ้นเครื่องเพื่อเตรียมตัวออกเดินทาง ไม่ใช่เวลาที่คุณควรจะไปถึงสนามบิน โดยปกติแล้วเจ้าหน้าที่สายการบินจะแนะนำให้ผู้โดยสารไปถึงประตูขึ้นเครื่องก่อนเวลา Boarding Time ประมาณ 20-30 นาที เผื่อเวลาสำหรับการผ่านจุดตรวจสัมภาระและความปลอดภัยที่อาจจะล่าช้าเพราะมีผู้โดยสารจำนวนมาก
ตัวอย่าง Boarding Pass
หลังจากตรวจสอบข้อมูลการจองตั๋วเครื่องบิน หรือการซื้อตั๋วเครื่องบินออนไลน์ (E-ticket) พนักงานของสายการบินจะทำการเช็คอินกระเป๋าเดินทางและออก Boarding Pass ให้กับผู้โดยสาร ปัจจุบัน Boarding Pass มี 2 ประเภทหลัก นั่นคือ
อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า E-Boarding Pass เป็นบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่คุณจะได้รับเมื่อเช็คอินออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่นของสายการบินต่าง ๆ วิธีการใช้งาน E-Boarding Pass ก็ง่ายมาก ๆ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นของสายการบินลงในสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอริกส์อื่น ๆ แล้วนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพียงเท่านี้คุณก็สามารถใช้ E-Boarding Pass ในการขึ้นเครื่องบินได้แล้ว
ปัจจุบัน E-Boarding Pass ได้รับความนิยมมากขึ้นในหลายสายการบิน เพราะนอกจากจะเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสาร เพียงแค่ดาวน์โหลดหรือแสดงบนมือถือก็สามารถเช็คอินได้เช่นกัน แล้วยังช่วยประหยัดเวลาในการเช็คอินผ่านเคาน์เตอร์ ลดการใช้ Boarding Pass แบบกระดาษ และยากต่อการปลอมแปลงเอกสารอีกด้วย
เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทาง ปัจจุบัน สายการบินหลายแห่งได้เพิ่มรูปแบบการให้บริการออนไลน์ที่สะดวกรวดเร็วและทันสมัยมากขึ้น โดยคุณสามารถรับ Boarding Pass ได้ 2 วิธี นั่นคือ
** Noted: ผู้โดยสารที่ได้รับ E-Boarding Pass และไม่มีสัมภาระลงทะเบียนสำหรับโหลดใต้เครื่องบิน สามารถตรงไปยังประตูทางออกขึ้นเครื่องได้ทันที หากคุณมีสัมภาระที่ต้องลงทะเบียนต้องไปที่เครื่อง KIOSK เพื่อพิมพ์แท็กกระเป๋าเดินทาง ก่อนที่จะฝากสัมภาระไว้ที่เคาน์เตอร์โหลดสัมภาระด้วยตนเอง (Self Check-in) โดยเคาน์เตอร์โหลดสัมภาระจะปิดให้บริการ 60 นาทีก่อนเที่ยวบินทำการบิน (Departure Time)
Departure Time ที่แสดงบนตั๋วเครื่องบิน คือ “เวลาออกเดินทาง” ที่เครื่องบินลำที่คุณเดินทางจะออกจากสนามบินต้นทางสู่ประเทศปลายทาง โดย Departure Time จะแสดงเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อความถูกต้องชัดเจนในการสื่อสารระหว่างประเทศ โดยจะยึดเวลาท้องถิ่นของประเทศนั้น ๆ เช่น Departure Time จะออกทางจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เวลา 10.00 น. (ตามเวลาประเทศญี่ปุ่น) คุณก็ต้องยึดเวลาท้องถิ่นเป็นหลักนั่นเอง
เมื่อคุณทำการเช็คอินและรับ Boarding Pass แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการตรวจเช็คสัมภาระและผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง โดยนำ Boarding Pass และพาสปอร์ตไปแสดงให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง โดยมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
สำหรับใครที่เผลอทำ Boarding Pass หายก่อนขึ้นเครื่องบินก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะคุณสามารถขอให้พนักงานที่หน้าประตูทางขึ้นเครื่อง (Gates) ที่คุณจะเดินทางปรินท์บอร์ดดิ้งพาสใหม่ได้เช่นกัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทางที่ดีไม่ควรทำ Boarding Pass หายจะดีที่สุดเพื่อป้องกันข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล เพราะข้อมูลบน Boarding Pass มีบาร์โค้ดที่สามารถสแกนเข้าไปดูข้อมูลอื่น ๆ ของเราได้ไม่ต่างอะไรกับ Passport เมื่อได้ Boarding Pass มาแล้วต้องรักษาไว้ให้ดี และไม่ควรนำไปถ่ายรูปโพสต์ลงบนโซเชียล หรือควรอำพรางข้อมูลส่วนตัวและบาร์โค้ดเพื่อป้องกันมิจฉาชีพโจรกรรมข้อมูลนั่นเอง
นอกเหนือจาก Boarding Pass และศัพท์เกี่ยวกับสายการบินต่าง ๆ ที่เราแนะนำ แล้วยังมีเรื่องควรรู้ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้คุณตกเครื่องบิน หรือพลาดการเดินทางไปเที่ยวอย่างที่ใจหวัง ได้แก่
ข้อมูลบน Boarding Pass อาจเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน แนะนำให้คุณตรวจสอบความถูกต้องกับสายการบินอีกครั้ง รวมถึงกฎระเบียบและข้อกำหนดต่าง ๆ ในการขึ้นเครื่องบินอาจแตกต่างกันไป (ขึ้นอยู่กับสายการบินและสนามบินแต่ละแห่ง) เพื่อความปลอดภัยควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของสายการบินก่อนออกเดินทาง
ที่สำคัญเพิ่มความอุ่นใจให้ทุกทริปด้วยการซื้อประกันการเดินทางต่างประเทศชับบ์ (Chubb Travel Insurance) สายการบินล่าช้า กระเป๋าเดินทางชำรุดหรือสูญหาย เจ็บป่วยระหว่างเดินทาง หรือเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน คุณก็มั่นใจได้ว่า จะได้รับความคุ้มครองและชดเชยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อย่างครบถ้วนทั้งก่อนและหลังเดินทาง พร้อมบริการสายด่วนฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน แค่มีชับบ์ก็เที่ยวสบายไร้กังวล สนใจติดต่อเราได้ที่ 02 611 4242